วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

คนอ้วนกับ แต้จิ๋ว ตอนไอดอล คนแต้จิ๋วผู้ยิ่งใหญ่

ผมคนหนึ่งที่มีเชื่อสาย แต้จิ๋ว ครับ เครือญาติพ่อแม่ ผมมาจาก เถ่งไห้ ชัวเถาครับ 
และ ประกอบอาชีพย่านบางรัก เป็นพ่อค้าขายปลา และ มีอาชิพเสริมเป็นหมอจีนครับ
และ ปจุบันบ้านผมยังมีกิจการ ร้านอาหาร เป็ดพะโล้ ยาจีนครับ
และวันนี้ผมจะมาเล่า ประวัติ คนแต้จิ๋ว ผู้ยิ่งใหญ่ทั่วแผ่นดินครับ
เสื้อยืด
คนแรกที่ คนจีนในแผ่นดินใหญ่ไม่มีใครไม่รู้จักครับ 
马化腾:潮南成田人,腾讯总裁,QQ之父

หรือ หม่า ฮั่ว เถิง เจ้าพ่อ QQ
จากเมือง เตียเอี๊ยะ ชัวเถา
ดำรงตำแหน่ง CEO Tencent Inc.,
October 29, 1971 (age 42)

ตอนนี้มีทรัพย์สิน 

Net worthIncrease US$ 10.2 billion (2013)

และคำพูดที่เขาเคยพูดไว้คือ สินค้าที่ขายดีที่สุด คือ ของฟรี
ก็จริงอย่างที่ท่าน หม่า ได้กล่าวไว้
QQ นั้นเป็นชอฟแวร์ฟรีที่ 
เชื่อมการสื่อสาร คนทั้งประเทศจีนเลยก็ว่าได้
และเป็นธุรกิจ ไอที ที่ใหญ่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ก็ว่าได้ครับ



เสื้อยืดสกรีน
คนที่สองนี้ ไม่ว่าใครบนโลกนี้ต้องเคยเห็นสินค้าของเล่น
ของท่านผู้นี้อย่างแน่นอน 
蔡东青:澄海人,玩具之王,奥飞动漫总裁
1969 เดือน4 วันที่ยังไม่แน่ชัด

ไช่ ตง ชิง ราชาของเล่น ดำรงจตำแหน่ง CEO auldey 
คนเถ่งไห้ ชัวเถา แต้จิ๋วผู้ยิ่งใหญ่
ใครเคยเล่น รถ Tamiya คนนี้ครับ
เป็นผู้ผลิต และ ถือ ลิขสิทธิ์ เจ้าเดียวในจีน
เคยร่ำรวยติดอันดับ 5 ในปี 2010 ของจีน


เสื้อยืดสกรีน
ผู้นี้เป็นเจ้าพ่อ ผู้ค้าปรีกเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่
黄光裕: 潮阳铜盂人,国美创始人,三登内地首富。
24 June 1969 
เป็นชาว  เตียเอี๊ยะ ชัวเถา เช่นเดียวกับ เจ้าพ่อคิวๆ
เคยได้เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในจีนถึง 3 ปี
2004-2005และ2008


เสื้อยืด
李嘉诚:潮州人,著名慈善家,亚洲首富,世界华人首富,长江实业总裁。
Li Ka-shing หรือ ลี กา ชิง ผู้ยิ่งใหญ่ชาวแต้จิ๋ว อีกท่่านหนึ่ง
ได้เป็น ผู้ที่ใจบุญ ที่สุดใน จีน 
เป็น บิ๊กบอส Cheung Kong (Holdings) Limited
ความรวยนั้นไม่ต้องพูดถึงครับ เป็นคนรวยติดอันดับหนึ่ง
ของ เอเชีย และ รวยที่สุดในชาวจีนทั่วโลกครับ
เกิดเมื่อ 1928-7-29
และได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ ฮ่องกง เมื่ออายุได้ 12 ขวบ
พ่อของท่านชิง เป็น นักวิชากร สมัยสุดท้ายของราชวง ชิง
ก่อนที่ จีน ทำสงครามกับ ญี่ปุ่น และอพยศไปอยู่ ฮ่องกง


เสื้อยืด
谢易初:澄海人:正大集团(卜蜂莲花)创始人
นายเซี่ยอี้ชู ( 谢易初หรือ เจี่ยเอ็กชอ ชื่อในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว)
เจ้าของร้านขายเมล็ดพันธุ์ผัก
ผู้เปิดตำนานการก่อตั้งบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)
ในประเทศไทย และยังเป็นคนเดียวกัน
ที่สร้างตำนานความยิ่งใหญ่ของซีพีในประเทศจีน
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะบุกตลาดประเทศจีน
ทันทีที่เขาและบุตรทั้งสี่ได้รับทราบข่าวการ
 ‘เปิดประเทศ’ ของแผ่นดินแม่


บางทีความยิ่งใหญ่ของท่านเหล่านี้
ทำให้ผมมีพลังบางอย่างที่อยากจะเอาชนะตัวเอง
ฝันไปหรือเปล่า ที่จะเทียบกับผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี

อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี
       ART EYE VIEW---สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของการพบกันระหว่างเรา และอาจเป็นครั้งแรกของบางท่าน ในการพบกันครั้งแรกเนื้อหาของบทความจะเป็นการแนะนำคอลัมน์นี้ ซึ่งเป็นคอลัมน์ใหม่ให้ท่านได้รู้จัก จึงทำให้ดิฉันต้องเลื่อนการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของไทยมาให้ท่านได้อ่านในวันนี้
      
       คนไทยจำนวนไม่น้อยอาจไม่รู้จักหรืออาจหลงลืมไปว่า วันที่ 28 ธันวาคม อันตรงกับวันปราบดาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็น วันตากสินมหาราชานุสรณ์
      
       ในวันนี้ของทุกปีทั้งภาครัฐและภาคประชาชนจะร่วมกันทำพิธีถวายบังคม พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาติไทยและปวงชนชาวไทย 
      
       นอกจากนี้ชาวไทยกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ยังคงจงรักภักดีและเคารพบูชาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่างพร้อมใจกันเดินทางไปสักการะและบวงสรวงดวงพระวิญญาณของพระองค์ยังสถานที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องและถือเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงมหาราชพระองค์นี้ในวันนี้ด้วย
      
        อันได้แก่ ศาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ พระราชวังเดิม หรือ พระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานีของไทย ปัจจุบันคือที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ ภายในศาลนี้ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะรมดำของพระองค์ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวรารามซึ่งเป็นที่เก็บรักษาพระแท่นทรงบำเพ็ญกรรมฐาน และวิหารน้อย วัดอินทาราม ซึ่งประดิษฐานพระแท่นบรรทมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีระหว่างเสด็จมาประทับทรงศีลและเจริญกรรมฐานที่วัดแห่งนี้ พระแท่นองค์นี้ทำด้วยไม้ พนักแกะด้วยงาช้าง ฉาบพุดตานประกอบใบ ฝีมือประณีตมาก 
      
       เนื่องในวันสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ ดิฉันจึงขอถือโอกาสนำท่านทั้งหลายไปชมอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งประดิษฐ์ฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี ด้วยกันในวันนี้
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี
      
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี
      
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี
       อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี นับเป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติมหาราชของไทยที่งดงามในทุกมุมมอง สง่างามที่สุด และสมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย  นอกจากนั้นยังตั้งอยู่บนสถานที่เหมาะสมที่สุด เพราะในอดีตผู้ที่อยู่บนถนนทุกสายที่มุ่งหน้าสู่วงเวียนใหญ่ จะมองเห็นอนุสาวรีย์นี้ก่อนมาแต่ไกล
      
       อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นพระบรมรูปทรงม้าที่มีขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะรมดำ ออกแบบและปั้นโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยมี สิทธิเดช แสงหิรัญ, ปกรณ์ เล็กสน และสนั่น ศิลากร เป็นผู้ช่วย 
      
       ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นำเสนอภาพแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์ชาติไทยในท่าทางที่สง่างามสมชายชาตินักรบ  สงบนิ่งและไม่หวั่นไหวดังศิลา แต่เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความหาญกล้าและเด็ดเดี่ยว ม้าทรงของพระองค์นั้นเล่าแม้จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ก็เต็มไปด้วยพลังแห่งม้าศึกชั้นดีซึ่งเชี่ยวชาญในการยุทธ์ และกำลังคึกคะนองพร้อมรอคอยคำบัญชาจากจอมทัพให้โลดแล่นไปข้างหน้าเพื่อสร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่และนำชัยชนะกลับมาสู่มาตุภูมิ
      
       สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่ในชุดขุนศึก กำลังประทับนั่งบนหลังม้าศึกคู่พระทัย พระวรกายเหยียดตรง พระอูรุ (ต้นขา) ทั้งสองแนบอยู่กับลำตัวอาชา พระบาทสอดอยู่ในโกลนในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะตบโกลนเพื่อเตือนให้อาชาคู่พระทัยโลดลิ่วไปข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายทรงกระชับสายบังเหียนเพื่อดึงให้ม้าซึ่งกำลังคึกคะนองหยุดนิ่งอยู่กับที่ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระแสงดาบยกชูขึ้นสู่นภากาศในท่าออกคำสั่งให้กองทัพหยุดนิ่งอยู่กับที่เพื่อรอฟังพระบัญชาให้เข้าประจัญบานกับข้าศึก 
      
       พระเศียรทรงพระมาลาเส้าสูงแบบไม่พับซึ่งมีขนนกประดับอยู่บนยอด พระพักตร์ที่ผินไปทางด้านซ้ายเล็กน้อยและพระหนุที่เชิดพองาม บ่งบอกถึงความคาดคะเนและการระแวดระวังในสถานการณ์ พระเนตรทอประกายแห่งความเด็ดเดี่ยวและความสุขุมคัมภีรภาพ พระขนงขมวดเข้าหากันแสดงถึงความครุ่นคิดและไตร่ตรอง พระโอษฐ์ที่มีพระมัสสุประดับอยู่บดแน่นเข้าหากันบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นและเด็ดขาดในการตัดสินพระทัย 
      
       การนำเสนอพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในลักษณะเช่นนี้เผยให้เห็นเจตนารมณ์ของประติมากรในอันที่จะสะท้อนลักษณะอันเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวสมชายชาตรีของจอมทัพผู้เกรียงไกรและมหาราชที่ทรงไว้ซึ่งความปราดเปรื่องและสุขุมคัมภีรภาพ ผู้ทรงมุ่งมั่นในอันที่จะกอบกู้เอกราชให้กับชาติไทย สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับบ้านเมือง และนำความสงบสุขกลับคืนสู่อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ ดังเช่นที่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวอธิบายถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ของท่านไว้ว่า 
      
       ...ข้าพเจ้าคิดทำอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินในลักษณะขององค์วีรบุรุษไทย... ข้าพเจ้าสร้างมโนภาพให้เห็นพระองค์ในลักษณะอันเปี่ยมด้วยมนุษยธรรมอย่างแท้จริงเพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยในยามที่ความหวังทั้งหลายดูเหมือนจะสูญไปแล้วจากจิตใจของชาวไทยทั้งมวล ข้าพเจ้าคิดเห็นองค์วีรบุรุษของเราในขณะทำการปลุกใจทหารหาญให้เข้าโจมตีข้าศึกเพื่อชัยชนะ ดังนั้นความรู้สึกที่แสดงออกในพระพักตร์จึงเต็มไปด้วยสมาธิในความคิดและเต็มไปด้วยลักษณะของชายชาติชาตรี
      
       จุดมุ่งหมายและเจตนารมณ์ในการนำเสนอรูปแบบการสร้างสรรค์อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้เต็มไปด้วยพลังแห่งการเคลื่อนไหวอันสงบนิ่ง สง่างาม น่าเกรงขาม ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจแห่งขัตติยะ และมีค่าควรยิ่งแก่การสักการบูชา สะท้อนให้เห็นความปราดเปรื่องทางปัญญา ความแม่นยำในการคิดคำนวณโครงสร้างของประติมากรรม ตลอดจนความล้ำเลิศและความแยบยลในการสร้างสรรค์ศิลปะของประติมากรท่านนี้ 
      
       ดังนั้น อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี จึงควรค่าแก่การได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นผลงานประติมากรรมชิ้นเยี่ยมยอดที่สุดของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย อย่างแท้จริง
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี
      
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี

รฦกพระเจ้าตาก ปริศนาวันประสูติ-สวรรคต ถอดรหัสหางม้าทรงพระบรมรูป

ปริศนาวันประสูติ-สวรรคต
วันที่ 28 ธันวาคม ถูกกำหนดให้เป็นวันพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นวันประสูติหรือวันสวรรคตกันเล่า? เพราะตามธรรมเนียมแล้ว การกำหนดวันของบุคคลสำคัญนั้นมักถือเอาวันใดวันหนึ่งระหว่่างวันเกิดกับวันตายเสมอ

ให้เผอิญว่าวันสวรรคตของพระเจ้าตากสินเต็มไปด้วยความคลุมเครือไร้ข้อสรุป ว่าเป็นวันใดกันแน่ระหว่าง วันที่6, 7 หรือ 10 เมษายน 2325 อย่าลืมว่าเหตุการณ์บ้านเมืองช่วงนั้นชุลมุนชุลเกยิ่งนัก เจ้าพระยาจักรีกำลังปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์หลังจากที่ยึดราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากในสภาพสมณเพศได้แล้ว

หลักฐานฝ่ายไทย อาทิ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับโรงพิมพ์หมอบลัดเล ระบุว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกเพชฌฆาตลากตัวไปตัดศีรษะ (ไม่ใช่การทุบด้วยท่อนจันทน์) ถึงแก่พิราลัยในวันที่ 6เมษายน

ทว่าจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39 ที่เขียนขึ้นตามคำเล่าลือหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมสดๆ ร้อนๆ ไม่ถึง 9 เดือน กลับยืนยันว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีสวรรคตในวันที่ 7 เมษายน

แต่แล้วข้อมูลจากจดหมายเหตุโหรในประชุมพงศาวดารภาค 8 กลับระบุว่า วันสวรรคตของพระเจ้าตากตรงกับวันแรม 13ค่ำ เดือน 5 หลังจากวันที่เจ้าพระยาจักรีกลับมาถึงเมืองธนบุรีได้เพียง 4 วัน ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศกล่าวว่า เจ้าพระยาจักรีเสด็จกลับมาถึงกรุงธนบุรีในวันที่ 6 เมษายน ถ้าเชื่อตามนี้พระเจ้าตากก็ต้องสวรรคตในวันที่ 10 เมษายน

เมื่อพินิจพิเคราะห์ถึงความน่าจะเป็น วันที่ 6 เมษายนนั้น ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดีของราชวงศ์ใหม่ อาจเป็นไปได้ว่าวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตากอาจถูกกำหนดให้เลื่อนถอยออกมาหลังจากนั้นเล็กน้อย

อย่่างไรก็ตาม ไม่ว่าวันสวรรคตจะเป็นวันที่ 6 หรือ 7 หรือ 10 เมษายน รัฐก็คงละอายใจทีเดียว ที่จะให้ยึดเอาวันที่ยังอยู่ในห้วงเวลาของการเฉลิมฉลองวันจักรีมาเป็นวันรำลึกถึงพระเจ้าตากสินประกบคู่กันอีกวัน

ส่วนวันประสูติของพระองค์นั้นก็สับสนไม่แพ้กัน บ้างระบุว่า 17 เมษายน 2277แต่หลายท่านเห็นว่าน่าจะเขยิบขึ้นไปเป็นเดือนมีนาคมก่อนหน้านั้นสักสามสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ไม่พ้นราศีเมษ หากไม่ใช่วันที่ 22 ก็ต้องเป็น23 มีนาคม

คือถ้าเชื่อว่าสวรรคตวันที่ 6 เมษายน ก็ต้องประสูติ 22มีนาคม แต่หากสวรรคต 7 เมษายน ก็ต้องเขยิบวันประสูติเป็น 23 มีนาคม ทั้งนี้ยังไม่นับว่าหากสวรรคตวันที่ 10 เมษายนแล้วคงจะต้องเลื่อนวันประสูติออกไปอีก 3-4 วัน

การใช้ตรรกะเช่นนี้ เหตุเพราะพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อมีพระชนมายุได้ 48 ปีกับ 15 วัน ในเมื่อไม่มีพงศาวดารฉบับไหนระบุถึงวันประสูติ เราจำเป็นต้องคิดคำนวนย้อนหลังกันเองโดยยึดเอาวันสวรรคตเป็นตัวตั้ง

ปัจจุบันแนวโน้มที่ทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าพระองค์ท่านทรงประสูติในวันที่ 23 เมษายน 2277ก็เพราะวันนั้นตรงกับวันอังคาร ต้องโฉลกถูกจริตกับมหาบุรุษที่เกิดมาเป็นชายชาตินักรบ เพราะดาวอังคารคือเทพเจ้าแห่งสงคราม

ในเมื่อไม่มีความแน่ชัดของวันประสูติและวันสวรรคต ถ้าเช่นนั้นวันที่ 28 ธันวาคม จะเป็นวันอื่นใดไปไม่ได้ นอกเสียจากวันที่พระเจ้าตากสินทรงขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. 2310อันเป็นวันเดือนปีที่ไม่มีข้อโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักของชาวไทยเลยแม้แต่น้อย

มีข้อน่าสังเกตว่าพระเจ้าตากทรงเฉลิมพระนามในพระสุพรรณบัตรว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 อันเป็นนามที่ีสืบต่อจากสาย "สมเด็จพระบรมราชาธิราช" แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีมาแล้วสามองค์ ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) และสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระบรมไตรโลกนาถ) ซึ่งเป็นสายราชวงศ์สุพรรณภูมิผสมกับสุโขทัยทางเหนือ หาใช่ราชวงศ์อู่ทองสาย "สมเด็จพระรามาธิบดี"ที่ใช้สัญลักษณ์รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นสายที่สืบต่อมายังราชวงศ์จักรีไม่

พิจารณาให้ดี นาม "สมเด็จพระบรมราชา" นี้สะท้อนถึงความพยายามที่พระองค์ต้องการฟื้นฟูและสืบต่อราชวงศ์ธรรมิกราชาของกรุงศรีอยุธยาที่มีรากเหง้ามาจากสุโขทัยนั่นเอง เนื่องด้วยพระองค์ท่านทรงมีความผูกพันกับเมืองตากและกำแพงเพชร

เห็นได้ว่าพระองค์ท่านมิได้คิดหักหาญตั้งตัวเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ใหม่ ส่วนการที่มาเรียกพระองค์ว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ดี หรือพระเจ้าตากสินนั้น เป็นการมาเรียกขึ้นภายหลัง

ถอดรหัสจากหางม้าทรงพระบรมรูป

อนุสรณ์เครื่องรฦกถึงวันพระเจ้าตาก ก็คืออนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าที่วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ผลงานการออกแบบของ "อาจารย์ฝรั่ง" สุภาพบุรุษแห่งเมืองฟลอเรนซ์ มีชื่อไทยว่า ศ.ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

น่าแปลกไหม อนุสาวรีย์หล่อตั้งแต่ปี 2480ยุคพระยาพหลพลพยุหเสนา แต่กว่าจะได้ติดตั้งต้องใช้เวลาต่อสู้กับกลุ่มอำมายต์เก่าอยู่นานถึง 17 ปี มาสำเร็จเอาในปี พ.ศ.2497 ยุครัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

และแม้จะทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์อย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่ก็ยังไม่วายถูกขุนนางผู้ดีในยุคนั้นทั้งสายสถาปนิก นักวิจารณ์ศิลปะ และสัตวแพทย์หลายท่านเอาชนะคะคานโจมตีในเรื่องไม่เป็นเรื่องของม้าทรง

เหตุเพราะม้ายืนตรง แต่กลับทำหางชี้สูงไม่ลู่ลง เหล่า "อีหลีด" โวยวายจนเป็นข่าวลงหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งหลายฉบับว่า เป็นม้าที่ดูอุบาทว์ ประดักประเดิด สี่ขายืนสงบนิ่งไม่ได้ทำท่ากระโจนสักนิด แต่กลับยกหางสั่นเหมือนพวกขี้ครอกขึ้นวอ ท่าเช่นนี้เหมือนม้ากำลังจะขี้ (ขออภัย การตอบโต้ของอีหลีดยุคนั้นเขาใช้คำว่า "ขี้"ชัดเต็มปากเต็มคำ) อาจารย์ศิลป์โดนรุมประณามว่ามั่วนิ่มนั่งเทียนปั้น

อันที่จริงแล้ว มิใช่ว่าอาจารย์ศิลป์จักไม่รู้เรื่องกายวิภาคของม้าเลย ตรงข้ามท่านให้ความสำคัญกับม้าทรงชิ้นนี้เสียยิ่งกว่างานปั้นชิ้นใดๆ ถึงกับลงทุนปีนนั่งร้านที่มีความสูงกว่าสามเมตรขึ้นไปปรับแต่งแก้ไขปั้นดินจนถึงพอกปูนทุกขั้นตอนในโรงหล่อ หลังจากที่ให้ลูกศิษย์ช่วยกันหล่อปั้นตามแบบแล้ว เป็นเหตุให้ท่านพลัดตกลงมาจากนั่งร้าน จนแขนขาหักต้องเข้าเฝือกอยู่หลายเดือน

นอกจากนี้แล้วอาจารย์ศิลป์ยังครุ่นคิดถึงเรื่องสายพันธุ์ของม้า ว่าควรเป็นชนิดใด ต้องไม่ใช่ม้าอาหรับ ม้าออสเตรเลีย หรือม้านอร์แมน หากแต่ต้องเป็นม้าไทยเท่านั้น และเมื่อเป็นม้าไทย อาจารย์ศิลป์ก็ต้องกำหนดส่วนสัดให้แตกต่างไปจากม้าเทศที่เคยศึกษามาจากยุโรป

ปัญหาก็คือ พวกที่วิจารณ์นั้นคือกลุ่มผู้ลากมากดีสยามที่ดูถูกชาวจีนว่าเป็นคนต่างด้าว จึงจ้องแต่จะทับถมเกียรติภูมิของพระเจ้าตากสินผ่านการกดหางม้าทรงไว้มิให้เผยอผยองพองขน อาจารย์ศิลป์จึงถูกบีบให้กลายเป็นหนังหน้าไฟไปโดยปริยาย

ความตั้งใจแรกของอาจารย์ศิลป์นั้น ท่านต้องการนิรมิตม้าทรงของพระเจ้าตากในท่าผาดโผนโจนทะยานกำลังออกศึก เชื่อกันว่าหากไม่โดนกระแหนะกระแหนคอยจิกคอยตอดเป็นระยะๆ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าตากสินนั้น คงจะต้องมีความงามสง่าสมชายชาติอาชาไนย ดุจเดียวกับอนุสาวรีย์ของพระเจ้านโปเลียนมหาราชที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ต้องละม้ายกับรูปม้าทรงของจักรพรรดิทราจันแห่งกรุงโรม ณ ประเทศอิตาลี แผ่นดินมาตุภูมิของอาจารย์ศิลป์โน่นเทียว

ข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยจากเอกสารต่างชาติก็คือ เมื่อครั้งที่มีการจ้างวานศิลปินชาวฝรั่งเศสหล่อพระบรมรูปทรงม้าของรัชกาลที่ 5 นั้น ทางสยามต้องการให้ม้าทรงอยู่ในท่ายกขาหน้าเหมือนม้าของนโปเลียน แต่ทางโรงหล่อที่ยุโรปแย้งกลับมาว่า ท่าม้าเผ่นผยองหรือยกขาหน้าตามธรรมเนียมสากลมีไว้สำหรับจักรพรรดิที่เป็นนักรบเท่านั้น โรงหล่อกรุงปารีสมีความเห็นว่า รัชกาลที่ 5 ไม่ใช่กษัตริย์นักรบยกทัพทำสงครามด้วยพระองค์เอง จึงไม่อาจสร้างรูปทรงม้าในท่าเผ่นโผนตอบสนองความต้องการของผู้จ้างได้ จึงปั้นในท่าขี่ม้าสงบนิ่งตามที่เราเห็น

แต่สำหรับพระเจ้าตากสินมหาราช อาจารย์ศิลป์ท่านเป็นคนยุโรป จึงย่อมเข้าใจเรื่องนี้ค่อนข้างดี เมื่อเริ่มต้นก็ได้ปั้นม้าผาดโผนโจนทะยานอย่างออกรสชาด แต่แล้วสุดท้ายอำนาจพิเศษบางอย่างได้เข้ามากำกับ ไม่ต้องการให้มหาราชพระองค์นี้ดูโดดเด่นเกินหน้าเกินตาพระรูปทรงม้าที่มีอยู่เดิม ทำให้ต้องแก้ไขพิมพ์เขียวของม้าทรงถึง 5 ครั้ง

เมื่อไม่สามารถบันดาลให้ม้าทรงยกขาหน้าได้ดั่งที่ควรจะเป็น อาจารย์ศิลป์จึงแอบซ่อนรหัสนัยไว้ที่หางของมันให้ชี้ตระหวัดขึ้น เป็นภาพของม้าที่อยู่ในอิริยาบถเคร่งเครียด พร้อมที่จะออกวิ่งทะยานอยู่ทุกขณะ รอแต่ว่าเมื่อไหร่องค์จอมทัพจักกระชับบังเหียนให้สัญญาณเท่านั้น พลันม้าทรงก็พร้อมที่จะกระโจนไปข้างหน้าอย่างไม่รั้งรอ ปากเผยอจนเห็นฟันและหางที่เป็นพวงชี้สูงนั้น นับว่าสอดคล้องแล้วกับความตื่นคะนองของม้าศึก

อุปมาดั่งนักมวยหรือเสือที่กำลังจ้องจับเหยื่อมักเขม็งเกร็งกล้ามเนื้อ ย่อมดูมีพลังดุดันน่ากลัวมากกว่าเมื่อมันตะปบเหยื่อได้แล้ว เหล่าอีหลีดจึงไม่ควรมาแหย่หาเรื่องตัดหางม้าทิ้ง เพื่อหล่อใหม่แล้วให้ท่อนหางของมันลู่ลีบยืนจ๋องอย่างไร้ศักดิ์ไร้ศรี

ควรพึงสำเหนียกไว้ด้วยว่า ม้าทรงตัวนี้กำลังประกอบวีรกรรมกอบกู้ชาติ หาใช่อนุสาวรีย์ของนายทัพที่นั่งผึ่งผายอยู่บนหลังม้าเพื่อรับคำสรรเสริญพระบารมีอย่างกึกก้องจากฝูงชนที่คับคั่งตามท้องถนนโห่ร้องต้อนรับผู้มีชัย ซึ่งม้าเหล่านั้นมักมีลักษณะสวยงามเหมือนม้าที่ฝึกในละครสัตว์

ภายใต้สภาวะที่ศิลปินถูกกดดันจาก "มือที่มองไม่เห็น" หางม้าทรงจึงเป็นสัญลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องมือประกาศยกย่องฤทธานุภาพและความสง่างามของพระเจ้าตากสินมหาราชอย่างสมบูรณ์แบบ

ตีพิมพ์ในคอลัมน์ ปริศนาโบราณคดีตอนที่ 56
ฉบับเดือนธันวาคม 2554 มติชนสุดสัปดาห์