วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

แต้จิ๋ว (จีน: 潮州)

แต้จิ๋ว (จีน: 潮州)

แต้จิ๋ว (จีน潮州) เป็นเมืองซึ่งตั้งอยู่ติดกับซัวเท้าทางทิศใต้ (หรือที่คนไทยรู้จักในนามซัวเถา 汕頭市) จรดเมืองกิ๊กเอี๊ยทางตะวันตกเฉียงใต้ (หรือ เจียหยางในภาษาจีนกลาง) จรดเมืองเหมยโจวทางตะวันตกเฉียงเหนือ และจรดมณฑลฝูเจี้ยน (หรือมณฑลฮกเกี้ยนในภาษาไทย) ทางทิศตะวันออก และจรดทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแต้จิ๋วก็เป็นภาษาจีนที่ใช้ในกลุ่มของคนจีนแต้จิ๋ว หรือสำเนียงแต้จิ๋ว


เขตการปกครอง

เขตเมืองเอก (อังกฤษ: prefecture-level city) แห่งแต้จิ๋ว มีอำนาจปกครองครอบคลุม 4 อำเภอ - 2 อำเภอ (อังกฤษ: districts) และ 2 กิ่งอำเภอ (อังกฤษ: counties) ได้แก่
  • เขตเซียงเฉียว (湘桥区)
  • เขตเฟิงซี (枫溪区)
  • เทศมณฑลเฉาอัน (潮安县)
  • เทศมณฑลเหราผิง (饶平县)

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในปี 214 ก่อนคริสตกาลซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ฉิน แต้จิ๋วเป็นเพียงพื้นที่ที่ยังปราศจากการพัฒนาและตั้งชื่อเรียก และเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองหนานไห่(南海郡)ล่วงมาถึงสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก ได้มีการก่อตั้งเขตไห่หยาง (海陽縣) ขึ้น แต้จิ๋วจึงได้เป็นเมืองซึ่งขึ้นกับเขตการปกครองตงกวัน (東官郡)
เมื่อปี พ.ศ. 956 (ค.ศ.413) เขตการปกครองตงกวันได้เปลี่ยนชื่อเป็นเขตการปกครองอี้อัน (義安郡) หรือหงี่อังในภาษาแต้จิ๋ว และในต้นรัชสมัยของราชวงศ์สุย ปี พ.ศ. 1133 (ค.ศ. 590) ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นเขตเมืองเอกชื่อว่า สวินโจว (循州) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้รวมเขตเฉาและสวินเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่าเขตเฉาสวิน
ในช่วงระยะเวลาสั้นสมัยราชวงศ์สุยและต้นราชวงศ์ถัง เขตไห่อยางเคยถูกเรียกว่าอี้อันด้วย ชื่อเขตนี้ยังคงเป็นไห่หยางจนกระทั่งปี พ.ศ. 2457 จึงได้ถูกเปลี่ยนเป็นเฉาอันเพื่อป้องกันไม่ให้สับสนกับเขตไห่หยางในมณฑลชานตง

  
ชื่อเรียก
อักษรไทยแต้จิ๋ว
ภาษาจีน
- อักษรจีน潮州市
- พินอินCháozhōu
Diê5 ziu1 (ภาษาแต้จิ๋ว)
อักษรโรมันChaozhou, Teochew
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งมณฑลกวางตุ้ง
ปีสถาปนา
ประเภทเขตปกครองเมืองระดับจังหวัด
เลขาฯเขตปกครอง แห่งCPCLuo Wenzhi (骆文智)
ผู้ว่าการTang Xikun (汤锡坤)
พื้นที่3,614 ตร.กม.
(1,395.4 ตร. ไมล์)
- ความสูงที่ตั้ง0 - 1,497.5 เมตร
ประชากร(ข้อมูลปี พ.ศ. 2549)
- เขตเมือง668,600
- ปริมณฑล2,533,700
ชาติพันธุ์หลักฮั่น
จำนวนเมือง/อำเภอ4
จำนวนตำบล43

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น